เมนู

ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา


สาวัตถีนิทานบริบูรณ์


ว่าด้วยสติปัฏฐาน 4


[726] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ประการนี้ 4 ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา
เห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เป็นผู้พิจารณา
เห็นจิตในจิต ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สติปัฏฐาน 4 ประการนี้แล.
[727] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดินโดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็น
อนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี
ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
อนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลาย

กำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืนย่อม
ละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ 7 นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและ
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐาน-
ภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
อันเดียวกัน 1 ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่
ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น 1
ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ 1 ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกอง
อาโปธาตุ กองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง
กองเนื้อ กองเอ็น กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อม
ละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณา
เห็นกายด้วยอาการ 7 นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
เรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็น
ธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้.
[728] ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่
ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ
เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ
7 นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียก
การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็น
ธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ
อทุกขมสุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อ
สละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ 7 นี้
เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็น
ธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้.
[729] ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน

ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ
7 นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณา
เห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่
เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ จิตปราศจาก
ราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิต-
ฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิต
อื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อ
สละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ 7 นี้
จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
จิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิต
ในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่าเป็นธรรม
ที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้.
[730] ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็น

โดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ
ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ
ย่อมละสมุทัย เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลายด้วยอาการ 7 นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้นเพราะ
เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติ-
ปัฏฐานภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 คือ ภาวนาด้วยความว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ
เป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่
ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน
นั้น 1 ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ 1 ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล.
จบสติปัฏฐานกถา

อรรถกถาสติปัฏฐานกถา


บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งสติปัฏฐานกถา
อันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปัสสนาวิเศษ 7
อย่าง ยกอิทธิปาฏิหาริย์ที่พระองค์ตรัสแล้วในลำดับแห่งสมสีสกถาเป็นตัวอย่าง
ตรัสแล้ว.
พึงทราบความในพระสูตรนั้นก่อน บทว่า จตฺตาโร สติปัฏฐาน 4
เป็นการกำหนดจำนวน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการกำหนดสติปัฏฐาน
ไว้ว่า ไม่ต่ำกว่านั้น ไม่สูงกว่านั้น. บทว่า อิเม นี้เป็นบทชี้ให้เห็นสิ่งที่
ควรชี้ให้เห็น. บทว่า ภิกฺขเว เป็นคำร้องเรียกบุคคลผู้รับธรรม. บทว่า
สติปฏฺฐานา คือสติปัฏฐาน 3 อย่าง ได้แก่ สติเป็นโคจร 1 ความที่
พระศาสดาผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้าย ในสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติ 3 อย่าง 1
และสติ 1.
สติโคจรท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน มาในพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับของสติปัฏฐาน 4. บทนั้น
มีอธิบายว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะมีที่ตั้ง อะไรตั้ง สติตั้ง การตั้งสติ
ชื่อว่า สติปัฏฐาน.
ความละเมิดคำแนะนำด้วยความข้องใจของศาสดา ในสาวกผู้ปฏิบัติ
ท่านกล่าวว่า สติปฏฺฐานํ ในพระบาลีนี้ว่า พึงทราบการตั้งสติ 3 ประการ
ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่. บทนั้นมี
อธิบายว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน. เพราะควรตั้งไว้ อธิบายว่า ควรประพฤติ
ควรตั้งไว้ด้วยอะไร ด้วยสติ การตั้งไว้ด้วยสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน.